วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

Finally, what does Feminism aim for?

Yesterday, I had read a book written by Tomorn Sukapreecha. He is Thai writer who wrote many stuff about gender. One quotation I found he concluded very well (may I translated to English) said:


Sometimes, Feminism may exists in order to destroy itself 
because it may arised just for manifest people to look beyond 'gender' issue.

The stage of each gender is set up by being definied of social, 
so then it is non-essence.

But how important of being feminine, masculine, LGBT?
Yes it's different...but as being 'creation', 
can we different in equallity?

Not equal just for right, but equal as human being.

Regardless of gender: human can always be human, 
understand the world, and approach Nirvana.

Do you believe so?


วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560

Four Waves of Feminism: คลื่นทั้งสี่ลูกของสตรีนิยม

ปรากฏการณ์ความเคลื่อนไหวที่ออกมาเรียกร้องเพื่อสิทธิสตรี สามารถแบ่งพัฒนาการออกได้เป็น 4 ช่วง ดังนี้...


1. คลื่นลูกแรก: ช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 
เป็นการเรียกร้องเพื่ออิสระจากการควบคุม เรียกร้องสิทธิในเรื่องต่างๆ ต่อสู้เพื่อพื้นที่ในโลกสาธารณะของผู้หญิง บทบาททางด้านการเมือง เช่น สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง (Suffrage หรือ The right to vote) ของผู้หญิงอังกฤษและอเมริกันในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 ดำเนินการโดยกลุ่มสตรีชนชั้นกลางผิวขาวเป็นการเคลื่อนไหวที่สำคัญ ซึ่งประสบความสำเร็จทำให้ได้มาซึ่งสิทธิทางกฎหมายของสตรี


2. คลื่นลูกที่สอง: ช่วงปี 1960s ต่อเนื่องมาจนถึง 1990s
เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดไม่นาน คลื่นระลอกนี้เรียกร้องเกี่ยวกับการสร้างความเท่าเทียม การแก้กฎหมาย ความเสมอภาคของสิทธิด้านต่างๆ ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย มีการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า "การปลดปล่อยสตรี" (Women’s Liberation Movement) มีสาระสำคัญว่าการพิจารณาประเด็นปัญหาใดๆ ที่เกี่ยวกับสตรีจะต้องเลิกกระทำภายใต้กรอบความคิดเดิมที่ถือผู้ชายเป็นศูนย์กลางของความถูกต้อง

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาแนวคิดสายต่างๆ เกิดแนวคิดสตรีนิยมสายเสรีนิยม สตรีนิยมสายมาร์กซิสต์ สตรีนิยมสายสังคมนิยม สตรีนิยมสายถอนรากถอนโคน สตรีนิยมสายจิตวิเคราะห์ เพื่ออธิบายสาเหตุของความเป็นรองของผู้หญิงรวมทั้งแนวทางกำจัดความเป็นรองที่เกิดขึ้นในสังคม นอกจากนี้สำนักคิดดังกล่าวยังให้ความสำคัญหรือยอมรับในการทำความเข้าใจต่อปัญหาผู้หญิงตามแนววิทยาศาสตร์ด้วย

ขบวนการเคลื่อนไหวในระลอกที่สองนี้เน้นให้ผู้หญิงหันมาทำความเข้าใจกับสถานะของตนอย่างถ่องแท้ จากการตระหนักรู้ถึงความหลากหลายในตัวตนของชนกลุ่มน้อยทั่วโลก เช่น เชื้อชาติ ชนชั้น สีผิว เพศสภาวะ ผ่านการมองโครงสร้างทางอำนาจในสังคมทั้งในส่วนที่เป็นทางการและส่วนที่ไม่เป็นทางการ (พื้นที่ส่วนตัว) โดยกล่าวว่า “เรื่องส่วนตัวก็เป็นเรื่องการเมือง” (“The personal is the political”) คลื่นลูกที่สองเน้นเรื่องการต่อสู้เพื่อให้สิ้นสุดการกีดกันทางเพศ และการกดขี่ทางเพศในทางปฏิบัติ


3. คลื่นลูกที่สาม: ช่วงปี 1990s เป็นต้นมา (Post-Feminism)
ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดแบบโพสต์โมเดิร์นเป็นอย่างมาก เกิดจากการผลัดรุ่นของสตรีนิยมในตะวันตก เนื่องจากผู้หญิงรุ่นใหม่เริ่มเห็นด้วยน้อยลงกับแนวคิดสตรีนิยมรุ่นเก่าๆ เกิดการตั้งคำถามต่อข้อเสนอของแนวคิดที่สตรีนิยมสายต่างๆ อันเป็นผลผลิตของยุคที่ผ่านมา ซึ่งยังติดอยู่กับความเป็นสากล ระบบความคิดแบบคู่ตรงข้าม
"มีการมองเพศอย่างหลากหลายซับซ้อนมากขึ้น ไม่ได้ขึ้นต่อเพศทางชีววิทยาอย่างเดียว มี LGBTQI ต่อมาก็มีการเน้นถึงเรื่องเพศสภาวะ (Sexuality) ที่หลากหลายของคน ที่ไม่ได้ยึดติดอยู่กับเพศสภาพ (Gender) เท่านั้น รวมถึงมีเริ่มมีการถามท้าถึงแนวคิดเรื่องเพศกายภาพหรือเพศทางชีววิทยาอีกด้วย จนเดี๋ยวนี้ข้อถกเถียงมาไกลขนาดดึงเอาแนวคิดหลังมนุษยนิยม (Posthumanism) เข้ามาเพื่ออธิบายว่าร่างกายมนุษย์ไม่ใช่ประเด็นอีกต่อไป และเราควรจะมองเรื่องเพศแบบ ‘ไร้เพศสภาพ’ (Genderless) ได้แล้ว เรื่องเพศเป็นเรื่องของเจตจำนงเท่านั้น และหากเรายังมองเพศแบบมี Gender อยู่ (แม้จะแบ่งเป็นเกือบ 30 แบบแล้วก็ตามที) เราก็ยังไม่อาจหลีกหนีจากกับดักเรื่องเพศและแนวคิดแบบมีลึงค์เป็นศูนย์กลาง (Phallocentric) ได้อยู่ดี"
โควตมาจากบทความ นม อำนาจรัฐ และสตรีนิยม
(จริงๆ ข้อมูลส่วนนี้มันมีรายละเอียดยิบย่อยอีกเยอะมากๆ เลยอ่ะแกรร ฮือๆ ถ้าสนใจไปอ่านต่อเองได้ไหม T^T)


4. คลื่นลูกที่สี่: NOW!
คลื่นลูกใหม่ล่าสุดนี้เป็นความเคลื่อนไหวบนเครือข่ายโลกออนไลน์ สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ จากกลุ่ม Gen Y ด้วยช่องทางดิจิทัล มีตัวแทนคลื่นลูกใหม่นี้โดย Emma Watson ทูตสันถวไมตรีของ UN Women ที่มาพร้อมกับแฮชแท็ก #HeforShe ซึ่งเป็นแคมเปญโดยองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติเพื่อรณรงค์ให้กลุ่มผู้ชายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเท่าเทียมกัน คลื่นลูกที่สี่นี้ใช้สาระเดิมในบริบทโลกใหม่ด้วยเทคโนโลยีในการสร้างความสั่นสะเทือน ไม่ว่าจะเป็น Instagram, Tumblr, Facebook, Twitter, Blog และการใช้ hashtag



"Men, I would like to take this opportunity to extend your formal invitation. 
Gender equality is your issue too."

—Emma Watson



_________________________________
อ้างอิง:


อ่านเพิ่มเติม:

ป.ล. ตอนแรกว่าจะทำแค่เรื่องผู้หญิงที่ถูกลืมในประวัติศาสตร์สมัยก่อน แต่ไปพรีเซ้นหัวข้อมาเมื่อวานแล้วอาจารย์บอกอยากให้ก้าวข้ามประเด็น Feminism ไปสู่เรื่อง Non-Gender แทน ให้มันร่วมสมัยหน่อย (สรุปได้ทำเพิ่มเป็น 2 เรื่องขนานกันไป... สำหรับ Recital Project ก็อันนึง สำหรับ Creative Research Project ก็อันนึงค่าาาา แอร๊ยยยย์ จิแยกร่างงงง >0<"/)

ป.ล.2 เมื่อนึกได้ดังนี้แล้วก็คิดว่าทำไมไม่ลงแยกในอีกบล็อกวะ แต่ไม่ทันแล้ววว... ขก. = =;

วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560

The Awakening !

อันนี้เป็นชื่อ Recital ดราฟต์แรก ไม่รู้ว่าถ้าพอลอง explore ใน theme ไปเรื่อยๆ แล้วจะเปลี่ยนอีกป่ะนะ...

ชื่อนี้ไม่ได้แปลว่าพอเรียนจบป.ตรีไปแล้วเราจะกลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ 😂 LOL

แต่มันเป็นชื่อที่ได้รับแรงบันดาลใจมากจากนวนิยายของ Kate Chopin (ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกันกับโชแปงเลยนะ เคยเอาไปหลอกว่านางเป็นลูกสาวของโชแปงตอนงานรับน้อง มีแต่คนเชื่อ 😂) แก่นเรื่องก็เนี่ยแหละ เข้าธีมพอดีเลย คือการตระหนักถึงบทบาทสถานะของผู้หญิงในสังคมยุควิคตอเรีย สมัยนั้นตัวเลือกของผู้หญิงไม่มีอะไรมาก (อย่าเรียกว่ามีทางเลือกเลยดีกว่า) นอกจากแต่งงาน มีลูก เลี้ยงดูครอบครัว. จบปิ๊ง 😱 The Awakening แปลว่าการกระตุ้น ปลุก หรือการทำให้ตื่น นี่ก็หมายความว่าวรรณกรรมเรื่องนี้ (ถ้ามันประสบความสำเร็จในหน้าที่ของมัน) จะทำให้เราให้ตื่นขึ้นจากค่านิยม/ความเชื่อที่เราหลับหูหลับตาเชื่อ/ทำตามมาโดยตลอด โดยการตระหนักถึงประเด็นนี้ในเรื่องบทบาทหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ ทางเลือกของผู้หญิง ตั้งคำถามกับมัน แม้ตัวละครจะต้อง suffer อะไรหลายๆ อย่างจากการต่อสู้เพื่อจุดยืนของตัวเองในสังคม แต่การได้ take action ได้ทบทวนและค้นพบคำตอบหรือทางออกอะไรบางอย่างนั่นก็นับว่ามันได้นำเราไปสู่ความรู้แจ้ง เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน \*0*/ (เอาอีกและ -0-" 55555... แต่มันก็จริงๆนะ 😂 ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง LOL) เอาใหม่นะ.. มันก็ดีกว่าการจะใช้ทั้งชีวิตที่เหลือไปกับคุณค่าเก่าของสังคมที่จองจำเราไว้ไม่ให้เราได้มีทางออกไปจากกรอบเดิมๆ

พอดีเมื่อวานได้คุยกลับปลื้ม ปลื้มบอกว่าเรื่องนี้ใช้ plot เดียวกันกับเรื่อง Imaginary Women ของ Charles Dickens เลย! โมเม้นนั้นคือกำลังจะเดินไปคิโนะคุนิยะพอนี้ เราเลยตรงดิ่งไปหมวดชั้น Literature เลยจ้า! แล้วเป็นไง 55 ผ่าม!!! ไม่มี หาไม่เจอ สงสัยคงจำผิด 😂😂😂 แต่ประเด็นคือชื่อมันได้จ้า เพราะ project นี้เราก็ต้องการศึกษาเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของผู้หญิงในมุมมองของคนในสังคมสมัยก่อน ความคิด ความเชื่อในตอนนั้น ก็เลยคิดว่าถ้ามันสามารถ reference ถึง literature ได้มากกว่าหนึ่งเรื่อง และเปรียบเทียบประเด็นเดียวกันจากคนเขียนในสมัยนั้นได้ก็จะดีย์~ (และแน่นอนต้องเป็นนักเขียนผู้หญิง แต่ถ้าจะศึกษาแค่ตัวอย่างจากผู้หญิงมันก็จะเป็นมุมมองในด้านเดียว เรียกว่าถ้าได้งานของผู้ชายมาตัดมันก็อาจจะทำให้ประเด็นนี้มีมิติขึ้น) BTW เดี๋ยวต้องไปเช็คว่าเรื่องที่ปลื้มพูดถึงจริงๆ คือเรื่องอะไรของใคร (แต่ชั้นชอบชื่อเรื่องนี้มากเลยอ่ะแกร.. ตรงประเด็น)


เช่นเดียวกับชื่อ Recital จ้า... การลุกขึ้นมาเล่นเพลงของ composer ผู้หญิง มันก็เป็นการตั้งคำถามกับสังคมเหมือนกันว่าเราจะยังคงเล่นเพลงของผู้ชายไปจนถึงเมื่อไหร่กัน!? เล่นอยู่ได้ ไม่เบื่อหราาา -0- ผลิตซ้ำอยู่นั่นล่ะ ลำไยละนะ 💢💢💢🔥 ถถถถ เดี๋ยว เอาใหม่ๆ. คือเราต้องการให้มันเป็น movement หนึ่งที่ต้องการให้คนเริ่มคิด ตั้งคำถามกับสิ่งที่ทำอยู่ว่า เฮ้ยคุณรู้ตัวหรือเคยสังเกตรึเปล่าว่าไอ้ที่พวกคุณเล่นๆ กันมานี่ มันเป็นดนตรีของผู้ชายทั้งหมดเลยนะ... คือเราไม่ได้ต้องการบอกให้ทุกคนหยุดเล่นเพลงของ composer พวกนั้นนะ แต่อยากให้ลองเปิดมุมมอง ลองมาฟังเสียงของผู้หญิงบ้าง... มันน่าสนใจนะที่จะได้มีประสบการณ์แบบที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน ลองแหวกออกจากขนบเดิมๆ บ้างสิ แล้วจะได้พบเจออะไรใหม่ๆ ถ้าเล่นแต่ของเดิมๆ ผลิตแต่ความเชื่อซ้ำๆ มันก็ไม่มีอะไรใหม่ๆ ไหมล่ะ? (อาจจะมีก็ได้ก็ขึ้นอยู่กับการตีความ แต่มันก็ยากจะบอกถ้าสิ่งที่ทำมันอยู่มันมาจากการทำเพราะทำตามๆ ต่อๆ กันมาเป็น tradition โดยไม่ตั้งคำถาม) ทุกแง่มุมมันก็ถูกสำรวจไปหมดแล้ว อย่าลืมว่าเราทำอย่างนี้มากันเป็นร้อยๆ ปีแล้วนะ ฮัลโหล? ตื่นค่ะ!!!


จุดเริ่มต้น ความตั้งใจแรกของโปรเจคนี้เลย คือคิดไว้ตั้งแต่ปี 2 ละมั้ง ว่าก่อนจบอยากเล่นเพลงของ women composers บ้าง เพราะจำได้ว่าเคยเห็นโน้ตของ Clara Schumann แว้บๆ อยู่ในห้องสมุด ก็แบบ.. เฮ้ย ขอทดไว้ในใจ และในที่สุดเวลาของข้าก็มาถึง วะฮ่า! (เดี๋ยวก่อนนี่เราไม่ใช่มาห์เลอร์นะ เรายังไม่ตาย 😂)

ส่วนหนึ่งเลยที่เราอยากทำมันก็เป็นผลพวงมาจากชีวิตส่วนตัวด้วยแหละ คือเราเป็นผู้หญิงค่อนข้างทำอะไรเองได้โดยไม่ต้องง้อผู้ชาย สามารถพึ่งพาตัวเองได้ อยู่เป็นโสดมา 21 ปีแล้วก็ยังไม่เห็นจะตายเลย(!) และเห็นว่าศักยภาพตัวเองก็มีอยู่ไม่ได้ต่างจากมนุษย์ผู้ชาย หรือลืมเรื่อง gender ไปแล้วมองว่าก็เทียบเท่ากับปัจเจกมนุษย์คนหนึ่งๆ ได้ ไม่เห็นต้องไปผูกโยงกับเรื่องเพศสภาพเลย คือเราไม่เชื่อเรื่องนี้ เราคิดว่าความคิดความรู้สึกและความสามารถไม่เกี่ยวข้องกับเพศสภาพ มันคือการเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันนั่นแหละ การเป็น Feminist ไม่ได้หมายถึงเราต้องมีความคิดว่าผู้หญิงต้องอยู่เหนือกว่าหรือเจ๋งกว่าผู้ชายนะ แต่มันคือกลุ่มคนที่ออกมาเรียกร้อง ต่อสู้ถึงสิทธิ เสรีภาพ ให้ผู้หญิงได้รับการ treat ที่เท่าเทียมกันจากสังคมในฐานะมนุษย์คนหนึ่งต่างหากล่ะ ✨ แล้วคนที่บอกว่า feminist ที่ไปนอนกับผู้ชายคือเฟมินิสต์ที่กลืนกินอุดมการณ์ตนเอง เราว่าเป็นเรื่องไร้สาระสิ้นดี คือตรรกะวิบัติป่วยมาก ไปเอาความคิดนี้มาจากไหนเหรอ? มันเกี่ยวยังไง? ก็เพิ่งบอกไปว่ามันคือสิทธิ เสรีภาพ มันคือ free will ของผู้หญิงที่นางเลือกเอง อย่างที่ Emma Watson บอกหลังจากไปถ่ายแฟชั่นเปลือยอกบนปกนิตยสารนั่นแหละว่า So what? แล้วไงล่ะวะ มันผิดตรงไหน ก็ I have boobs!


Edit updated: นวนิยายเรื่องนั้นชื่อ An Imaginative Woman ของ Thomas Hardy จ้า

_________________________________
Well… the title I derived from the notable work of Kate Chopin. It’s a novel actually.

Yes, I know what you are thinking.
She has no related to Frederic Chopin at all!

But it’s not matter. I’ll try to make them related anyway… and that’s my job!

So let’s see how...I still don't know at the moment. I haven't read the book(s) yet. I am in the process on drawing the connection while exploring this feminine project along the way!

Hope you are with me on my journey <3